Thursday, December 4, 2008

สับปะรดหนาม : Deuterocohnia




สุดยอด เลยพี่ป้อง ดูพวกนี้ก็เปลี่ยนบรรยากาศไปอีกแบบ ผมมีเลี้ยงตัวเดียวคือเจ้า Deuterocohnia ตัวจิ๋วนั่น

ตอนนี้แตกกอสวยเชียว เลยถ่ายรูปมาให้ดู ของพี่ป้องโตดีมั้ยครับ
BEE [12 ส.ค. 2549]


ต้นของ BEE เติบโตงอกงามดีจัง กอที่คุณแบ่งให้มาก็ OK ดีครับ ตอนนี้ที่มีอยู่ห้ายอด บางยอดก็เริ่มแตกยอดทวีคูณออกไปเป็นอีกห้ายอด อีกซักสิบปีก็คงได้อย่างในรูปข้างล่างนี้ที่เพื่อนในอเมริกาส่งมาอวดผม



เพื่อนๆ ดูรูปของคุณ BEE ในหน้าจออาจนึกว่าต้นใหญ่ ที่จริงเจ้าสับปะรดหนามพันธุ์จิ๋วนี่มันมีขนาดจิ๋วจริงๆ คือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางแต่ละต้นย่อยๆที่เห็นนั่นแค่เพียง 2 cm เท่านั้นเอง แต่เชื่อหรือไม่ว่า ในธรรมชาติ เจ้านี่สามารถแตกกอออกไปเรื่อยๆ จนมีขนาดกอกว้างหลายเมตร และกอหนาสูงจากพื้นโขดหินที่มันขึ้นคลุมอยู่ถึงหนึ่งเมตร ดูราวก้อนหินที่คลุมด้วย Moss น่ามหัศจรรย์สุดๆ ในชีวิตนี้ก็ฝันไว้ว่าสักวันคงต้องหาโอกาสไปเยือนถิ่นกำเนิดของเหล่าสับปะรดหนามในอเมริกาใต้ให้จงได้ อ้อ...ลืมบอกชื่อไป เจ้าต้นนี้เขามีชื่อทางการว่า Deuterocohnia brevifolia var. chlorantha และในสกุลนี้ยังมีญาตที่ขนาดเล็กแคระแบบนี้อีกสองสามตัว อย่างในรูปของเพื่อนอเมริกาข้างล่างนี่ กอที่ต้นใหญ่กว่าหน่อยทางขวาคือ
Deuterocohnia lorentziana ซึ่งผมสั่งเข้ามาปีก่อน และจำไม่ได้ว่าแบ่งให้ BEE ไปหรือยังน่ะ ?



ดอกของพวกนี้แปลกดี คือไม่มีก้านดอก แต่เป็นหลอดที่กลีบสีเขียว นี่ที่ผมเลี้ยงแล้วออกดอกเมื่อต้นปี



Fat Man [12 ส.ค. 2549]



BEE ผมก็พยายามเอาใจเจ้าสับปะรดจิ๋วทุกอย่างอะนะ ทั้งปุ๋ย ทั้งฮอร์โมน อาหารเสริมสารพัด ประเคนให้อย่างไม่อั้นมันก็ยังกระดึ๊บๆ ไม่ทันใจเลยจริงๆ...
Fat Man [15 ส.ค. 2549]



BEE นี่คือกอที่คุณแบ่งให้ผ
มมา มันโตขึ้นเยอะเลย




ส่วนกอนี้ที่ผมบอกว่าเป็นอีก clone ใบสั้นๆ สีออกเทาเงินกว่า
ซึ่งได้มาจากรังในออสเตรเลีย โดยตัวเจ้าของรังเขาเดินทางไปเก็บเองที่อเมริกาใต้



อันเป็นอีกชนิด คือ Deuterocohnia brevifolia var. brevifolia
กอนี้เพื่อนของพวกเรา Parky ให้มา เค้าก็ได้มาจากรังเดียวกับที่ผมสั่ง
ในออสเตรเลียนั่นแหละ



Fat Man [18 ส.ค. 2549]

โคลนใบสั้นกับอีกvarนี่ก็สวยมากพี่ป้อง ไว้มีหน่อเยอะแล้วจะไปขอแบ่ง ผมชักจะชอบไม้พวกนี้แล้วสิ อิอิ จริงๆก็สะสมสับปะรดพวกTillandsiaอยู่แล้ว จะขยับขยายมาพวกนี้ก็คงจะได้


ดูจากตะใคร่ตามเครื่องปลูกแล้วเดาว่าพี่ป้องเลี้ยงค่อนข้างชื้นกว่าผมมาก ผมมัวแต่กลัวมันเน่าเลยเลี้ยงแห้งในโรงเรือนเหมือนแคคตัส ตอนนี้ขยับออกมากลางแจ้งแล้วรดน้ำบ่อยขึ้นดูมันจะเขียวๆตึงๆขึ้นมา น่าจะโตได้ดีกว่า
BEE [18 ส.ค. 2549]




Roger that BEE !! พี่เองก็เริ่มๆ กลับมามอง Tillandsia บ้างแล้วเหมือนกัน ที่จริงมันก็เป็นไม้อวบน้ำทนแล้งตัวหนึ่งเหมือนกันนะ
Fat Man [18 ส.ค. 2549]



ส่วนพวกนี้คือสกุล Deuterocohnia มาจากแถวอเมริกาใต้ แถบบราซิล อาร์เจนตินา


Fat Man [12 ส.ค. 2549]








Deuterocohnia สับปะรดจิ๋ว...แต่แจ๋ว

จากกระทู้ 3538 ห้องสนทนา www.mycacti.com

ป้อง (Fat Man) [14 ม.ค. 2550]


วันนี้ผมจะมาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้จัก succulent หรือไม้อวบน้ำที่น่าสนใจกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับสับปะรด (วงศ์Bromeliaceae)
มันคือพวกสับปะรดจิ๋วในสกุล Deuterocohnia ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่บนเทือกเขาแอนดีส
ในแถบประเทศโบลิเวีย และอาร์เจนตินา แห่ง ทวีปอเมริกาใต้
ที่เดียวกับบ้านเกิดของ Melocactus และ Discocactus รวมทั้งกระบองเพชรอีกหลากหลายชนิด



ในบรรดาไม้ในวงศ์เดียวกับสับปะรดที่มีอยู่หลากหลายสกุล รวมแล้วราวๆ สองพันกว่าชนิดนั้น
เจ้าสับปะรดหนามทนแล้งในสกุล Deuterocohnia จัดเป็นพวกที่มีขนาดเล็กที่สุดในวงศ์
โดยชนิดที่มีชื่อว่า Deut. brevifolia (form chlorantha)
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทั้งต้นแค่ไม่เกิน 2 เซนต์เท่านั้น



ในถิ่นกำเนิด สับปะรดจิ๋วชนิดนี้จะขึ้นเป็นกอแน่นปกคลุมโขดหิน
ตามแนวผา ตรงบริเวณที่รับแดดได้เต็มที่ ซึ่งแม้จะเป็นดินแดนแห้งแล้ง
แต่เจ้าสับปะรดประหลาดเหล่านี้ก็ปรับตัวให้อยู่ได้ด้วยการมีใบที่อวบอิ่มน้ำ
มีผิวใบหนา บางสายพันธุ์มีเกล็ดคลุมสีเงินช่วยในการสะท้อนความร้อน
และมีหนามแข็งเล็กๆ ตามขอบใบไว้ป้องกันสัตว์มากัดกิน



ผู้ที่ชื่นชอบสะสมต้นไม้แปลก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเล่น cactus และ succulent ในอเมริกา และยุโรป
มักจะมีเจ้าสับปะรดจิ๋วนี้ปลูกเล่นไว้ใน collection ต้วยเสมอ

ผมเองก็เมื่อเริ่มหันมาสนใจสะสมพวกสับปะรดหนามเมื่อสามปีก่อน ก็พยายามเสาะหาอยู่นาน
จนกระทั่งเพิ่งจะมาได้เจ้าสับปะรดจิ๋วนี่มาจากเพื่อนของเรา คือคุณ BEE เมื่อปีกว่ามานี้เอง
นี่ต้นที่ BEE แบ่งกอให้ผมมา และเริ่มแตกยอดจากเดิมที่มีเพียงห้ายอด



และถ้าเลี้ยงไปเรื่อยๆ ด้วยความอดทน ประกอบกับคอยดูแลเอาใจใส่
จับเค้าหมุนหาแสงให้สม่ำเสมอรอบด้าน
เจ้าสับปะรดจิ๋วที่น่าทึ่งนี้ก็จะสามารถสร้างกอกลมแน่นเหมือนได้ในรูปที่ Mr Palmbob
เพื่อนอเมริกันของผม ผู้ถ่ายภาพสับปะรดจิ๋ว
มาลงไว้ใน Dave Garden ที่ผมนำมาโพสให้ดูนี้



สักวันของเราจะใหญ่แบบนั้นบ้าง



นอกจากจะปลูกเป็นไม้กระถางแล้ว แถบตะวันตกของอเมริกาที่อากาศแห้งกว่าบ้านเรา
เขาสามารถปลุกเจ้าสับปะรดจิ๋วตกแต่งไว้ในสวนไม้ทะเลทรายกลางแจ้ง
ในภาพนี้จะเห็นได้ว่ามันเติบโตดูราวกับโขดหินซึ่งปกคลุมไว้ด้วยมอส น่าทึ่งจริงๆ



หลายคนก็คงจะสงสัยเช่นเดียวกับผมเหมือนกันว่า ภายใต้กออันแน่นทึบนั้นมันจะเป็นเช่นไร
จากรูปนี้ก็จะเห็นว่า มันประกอบไปด้วยส่วนโคนของลำต้นเก่าๆ ที่ผุเปื่อยแล้ว
และมีรากแตกออกมาตามลำต้น คอยดูดกินธาตุอาหารจากปุ๋ยธรรมชาติด้านใน



เฮ้...BEE กอต้นแม่ของคุณสวยวันสวยคืนเลยน่ะ กลมดีด้วย โตขึ้นต้องเหมือนในรูปแน่เลย
ผมเคยบอกคุณก่อนที่คุณกลับไปอังกฤษ จำได้มั๊ยว่าผมสั่งอีก clone ที่ใบมันต่างจากของคุณนิดหน่อย
คือใบมันจะสั้นกว่า และสีออกเงินอมฟ้าๆ
ซึ่งผมให้เพื่อนเราที่เป็นเจ้าของรัง"มุมไม้แปลก" สั่งมาให้จากรัง Tarrington Exotics
ซึ่งอยู่ในออสเตรเลีย ที่ตอนนี้เห็นว่าเพิ่งปิดรังเลิกกิจการไปแล้ว !
นี่ครับต้นที่ว่า นี่ตอนเพิ่งแกะออกมาจากกล่องไปรษณีย์หมาดๆ วันที่มาถึง
มาพร้อม Deuterocohnia chrysantha สับปะรดหนามตัวหายากที่สุดอีกชนิด

มาอย่างละห้ากอ และที่เล่าให้ฟังว่าปลูกเสร็จหนูก็มากัดเล่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
ไปเกิดใหม่เป็น species อื่นเสียสองต้น สูญไป พันกว่าๆ เฮ่ออ!!!
(แต่เพื่อนเรา Leonet ก็ช่วยหากับดักแบบโหดมาจัดการแก้แค้นให้ผมสำเร็จแล้ว ! )



นี่กอที่ใหญ่กว่าเพื่อน แตกหลายยอดหน่อย
ผมเก็บ clone นี้ไว้ให้ BEE หนึ่งกอเป็นการตอบแทนที่คุณให้ clone จากอเมริกาผมมาน่ะ



นี่ให้ดูว่ามันต่างจากตัวของคุณตรงใบสั้น สีเงินกว่าหน่อย



อยากจะสอบถามว่าแพงมั้ยครับ แล้วพอจะแบ่งขายบ้างรึเปล่าครับ ขอบคุณมากครับ

สับปะรดหนาม [14 ม.ค. 2550]

ขอเรียนคุณสับปะรดหนามว่า ผมเองยินดีแบ่งให้เล่นกันได้ครับ
แต่ขอเวลาเพาะขยายพันธุ์เจ้าสับปะรดจิ๋วต้นนี้ให้ได้จำนวนพอสมควรก่อน
ส่วนกอไหนที่ฟอร์มดูดีก็ตั้งใจเหมือน BEEว่าจะเลี้ยงให้ได้ขนาดใหญ่เหมือนในต่างประเทศครับ

ป้อง (Fat Man) [14 ม.ค. 2550]


*******************************************************************************************


เพื่อนบางคนเห็นป้ายชื่อที่ถ่ายมาคู่เจ้าสับปะรดจิ๋วแล้วอาจจะสงสัยว่าทำไมชื่อ Abromeitiella
ก็ขออะบายว่าชื่อนั้นเป็นชื่อเก่าที่บางรังยังใช้กันอยู่ ตอนหลังเขามีการย้ายสับปะรดจิ๋วในสกุลนี้
มารวมอยู่ในสกุล Deuterocohnia ซึ่งมีสมาชิกอยู่ราวสิบชนิด
ในจำนวนนั้นก็มีชนิดที่จัดเป็นสับปะรดหนามไซส์จิ๋วอยู่ราวๆ สามชนิด ซึ่งแยกย่อยออกไปอีกสามสี่ form

อย่างตัวที่โตกว่า Deut. brevifolia form chlorantha ขึ้นมาหน่อยก็คือ form brevifolia
อย่างในรูปนี้ที่ใบกว้าง เขียวกว่า และหนามห่างๆ



ตัวนี้ผมได้มาจากเพื่อนอีกคนคือคุณ Parky ที่แบ่งกอมาให้ผมเมื่อสองปีก่อน ต้นนี้ครับ



อีกชนิดที่ใหญ่ขึ้นมาอีก คือโตได้ราว 3-5 เซนต์ คือ Deuterocohnia lorentziana ต้นนี้ครับ



นอกจากนี้ก็มีตัวที่เป็น form ใบสีเงิน ซึ่งสวยมาก
และอาจจะยกขึ้นเป็นอีกชนิดเมื่อมีการจัดจำแนกสกุลนี้อีกในอนาคต
ดูกันชัดๆ ว่าตัวใบเงินนี่สวยจริงๆ มีอย่างนี้ซักกอคงจะมีความสุขมาก








ผมเองเพิ่งจะได้ตัวใบเงินกอจิ่วเดียวนี้มาจากเพื่อนเยอรมัน
ที่อุดสาห์หอบหิ้วเอามาให้จากสวนพฤกษศาสตร์ในสวิส คงอีกสิบปีถึงจะใหญ่อย่างข้างบน !



น่าทึ่งจริง ๆ ค่ะ
เห็นแล้ว .. มันเขี้ยว

เดี๋ยวต้องเริ่มมอง มอง มั่ง


เป้า [15 ม.ค. 2550]



มันรับประทานได้

เหมือนสัปปะรดมั้ยครับ ? อร่อยมั้ยเอ่ย ?


NuT [15 ม.ค. 2550]


โอ้ยเห็นแล้วอยากเลี้ยงบ้างจังเลย.....
เสียแต่ว่าเมืองไทยมีขายน้อยจังนะค่ะ
เออ....คุณBEE ค่ะ....

วันหลังเอารูปน้องทิลมาลงบ้างซิค่ะ....

แบบว่าช่วงนี้ ทิพย์เริ่มกลับมาเก็บทิลแอนเซีย

อีกแล้วค่ะ.....

ทิพย์ [15 ม.ค. 2550



พี่เป้าครับ กระถางที่พี่ให้ผมมาชุดนั้น เหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาปลูกพวกสับปะรดจิ๋วพวกนี้จริงๆ ครับ

คุณนัทคงไม่ได้กินลูกจากสับปะรดจิ๋วพวกนี้หรอกน่ะครับ
เพราะเจ้าพวกนี้ถูกจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Pitcairnioideae ที่ผลของมันเป็นแบบฝักแห้งไม่มีเนื้อผลไม้แบบ สับปะรดกินผล ซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อย Bromelioideae
ดอกของพวกสับปะรดจิ๋วกลุ่มนี้จะเป็นหลอดยาวๆ ส่วนใหญ่สีเขียวอย่างนี้



แต่ก็มีตัวที่เจ๋งและหายากสุดๆ คือ Deuterocohnia lotteae ที่มีดอกสีแดง นี่ครับ




น้องทิพย์ใจเย็นรออีกหน่อยน่ะครับ ผมก็กำลังพยายามหาแหล่งสั่งที่จะได้ราคาย่อยเยา
เพื่อเอาเข้ามาเผยแพร่ให้เพื่อนๆ ได้เล่นกันอยู่


ยากถาม BEE ว่าสับปะรดจิ๋วกอที่บ้านคุณใช้ดินญี่ปุ่นเป็นเครื่องปลูกหรือเปล่า
ผมกำลังเสาะหาว่าว่าเครื่องปลูกที่เหมาะที่สุดสำหรับปลูกพวกนี้ในบ้านเราคืออะไร
เห็นของคุณต้นงามสดใสกว่าของผมมาก และสังเกตในภาพคุณเป็นดินญี่ปุ่น

ป้อง [15 ม.ค. 2550]


ได้ยินชื่อเพื่อนคุณป้อง Mr Palmbob อยู่บ่อยๆ ไม่ทราบมีชื่อจริงเขาไหมครับ

GS [15 ม.ค. 2550]


Plambob เป็นคนดังอยู่ใน web Dave's Garden ที่ผมเป็นสมาชิกอยู่ครับ
ผมไม้ทราบชื่อจริงเขาหรอกน่ะครับ เราเคยแต่เมลคุยกัน ผ่านทาง Forum
Palmbob เคยมาเมืองไทยสองสามครั้ง เขาเก่งเรื่อง ปาล์ม ปรง และสะสมพวก กระบองเพชร ไม้อวบน้ำด้วย

ป้อง (Fat Man) [15 ม.ค. 2550]


ขอบคุณ พี่ป้องล่วงหน้าที่จะแบ่งให้ผมนะครับ เรื่องดินนี่ผมก็ทดลองไปเรื่อยแหละครับ ตอนนี้ลองดินญี่ปุ่น ก็เห็นว่าโตดีถ้าอยู่ใต้หลังคา แต่เวลาฝนตกโดนมากๆเหมือนจะแฉะไปหน่อย สมัยก่อนผมเลี้ยงดินแคคตัสผสมหินภูเขาไฟเยอะๆ ก็โตดีเหมือนกัน ก็เลยไม่แน่ใจว่าอะไรดีกว่ากันครับ

คุณทิพย์ ผมก็อยากถ่ายน้องTillandsiaให้ดูครับ แต่ตัวอยู่ไกลบ้าน เลยต้องอดทนรอหน่อยนะ แค่แปดเดือนเอง T_T

BEE [16 ม.ค. 2550]


ต้นสับปะรดหนามนี้เลี้ยงลุยแดดทนฝนได้เลยใช่ป่าวครับ

3384 [16 ม.ค. 2550]


*************************************************************

อยากบอกว่าพวกสับปะรดหนามแทบจะทุกชนิดเลยครับ
เขามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนคล้ายบ้านเรา มีบ้างบางตัวที่อาจเลี้ยงยากอยู่บ้าง
เพราะขึ้นในที่สูงมากกว่าสองหรือสามพัน เมตรขึ้นไป เช่นพวก Puya บางตัว
แต่โดยรวมๆแล้วก็สามารถเลี้ยงตากแดดตากฝนอย่างบ้านเราได้สบายครับ
ทั้งนี้ก็ต้องใช้ดินปลูกที่ระบายน้ำได้ดีด้วยน่ะครับ อย่างสูตรที่ผมใช้ปลูกสับปะรดหนามที่บ้านก็คือ
หินภูเขาไฟเบอร์ 00 หรือ 01 สองส่วน : เพอไลต์ สองส่วน : ดินใบก้ามปู หนึ่งส่วน
ถ้าหาซื้อหินภูเขาไฟไม่ได้ จะใช้อิฐมอญ หรือถ่านทุบ
หรือจะผสมพวกหินเกล็ดเพิ่มการระบายน้ำแทนก็ได้
เพื่อนผมบางคนเล่นปลูกอยู่ในขุยมะพร้าวเปล่าๆ เลยก็ยังอยู่ได้ แต่ไม่อวบอิ่มเท่าสูตรที่มีธาตุอาหารบ้าง

ผมจะผสมปุ๋ยออสโมโคตสูตร 14-14-14 ลงไปในเครื่องปลูกเลย
จากนั้นก็จะให้พวกธาตุอาหารรอง เดือนละครั้ง อย่างที่มีขายเป็นซองๆ ชื่อการค้าว่า "เฟอติรอน"

นี่คือสภาพบริเวณปลูกสะสมสับปะรดหนามที่ว่างตรงหน้าบ้านผมครับ
ไม่มีหลังคากันฝน ไม่มีซาแลนบัง ได้แดดครึ่งวันเช้าถึงบ่ายแก่ๆ จากนั้นก็ได้เงามะม่วงบังตอนเย็น



แดดร้อนจ้ากันเห็นๆ ไม่มีเหี่ยวหรือไหม้ ทนดีชมัด




เพื่อนอเมริกันของคุณป้อง นอกจากจะมีสรรพคุณตามที่บรรยายมาแล้ว ยังจะเป็นนัก pencil drawing ตัวยงอีก
เรื่องนี้ L. Whitelock คงยืนยันได้ เรื่องเขียนรูปนี่สงสัยคงต้องให้คุยกับเพื่อนสมาชิกเราซะแล้ว!

GStein [19 ม.ค. 2550]


ไม่ จริงๆๆๆ ผมตกกระทู้นี้ของพี่ป้องไปได้ยังไงนี่ นี่ถ้าคุณGSteinไม่ยกกระทู้นี้ขึ้นมาอีก ผมคงเสียใจที่ไม่ได้ชมภาพและคำบรรยายอันแสนมีค่านี้ไปแน่ๆ สุดยอดที่จะบรรยายเป็นข้อความได้ครับ /ไกด์ครับผม

อดิศักดิ์/ไกด์ครับ [19 ม.ค. 2550]


***************************************************

มาอัพเดทให้เพื่อนๆได้ทราบว่า ในที่สุดผมก็สามารถเสะหา
เจ้าสับปะรดจิ๋วดอกแดงตัวหายากที่ใฝ่ฝันมานานนั้นได้แล้วครับ

เที่ยวนี้เพื่อนรักของผมอุตส่าห์ไปหอบหิ้วมาจาก collection
ของสวน Huntington Botanic Garden ที่ California เลยทีเดียว

นี่ครับเจ้าสับปะรดจิ๋วดอกแดง (Deuterocohnia lotteae) ที่ใบเขียวๆ
มาพร้อมกับเจ้าใบเงิน (D.lorentziana) ตัวที่ปลูกโชว์
เป็นกอใหญ่ในสวนฮันติงตัน



ก่อนปลูก







หลังปลูก ถ่ายก่อนฝนตกหนักเมื่อวาน





หลังดูดน้ำฝนไปสองรอบ เมื่อเช้ามาดู เห็นดอกยื่นออกมาสวยเลย







ส่วนนี่เจ้าตัวสีเงิน





ก้หวังว่าซักวันของเราจะเติบโตได้เป็นกอใหญ่ยักษ์เหมือนในภาพนี้ครับ




ป้อง [10 เม.ย. 2550]


โหพี่ ป้องครับ เห็นแล้วเหลือเชื่อเลยครับพี่ ขนาดผมมีตัวนี้แล้วนะครับ ยังไม่อยากจะเชื่อเลยว่าครับพี่ว่า ฟอร์มใหญ่ ๆ มันจะเป็นแบบนี้ สวยมาก ๆ เลยครับ

กิ๋ฟ วรรธนะ [20 เม.ย. 2551]


ผมถึงเรียก "จิ๋วแต่แจ๋ว" ยังไงหล่ะ

ป้อง [20 เม.ย. 2551]


















No comments: