ห้องสนทนา www.mycacti.com
โดยคุณชนินทร์ โถรัตน์
-->สวัสดี เพื่อนๆ ในช่วงสุดสัปดาห์วันแม่ครับ หลายคนอาจพาคุณแม่ไปเที่ยว หรือบางคนก็อาจกลับไปเยี่ยมเยียนคุณแม่ และบางท่านก็อาจเป็นคุณแม่ ห้อง Mycacti จึงอาจจะเงียบเหงา ผมก็เลยถือโอกาสมาแนะนำให้เพื่อนๆ ที่ชอบไม้หนามคมๆ ได้รู้จักกับไม้อวบน้ำทนแล้งอีกกลุ่ม ซึ่งแทบจะกล่าวได้ว่าหาคนเล่นอย่างจริงๆ จังๆ ในบ้านเราไม่ค่อยได้เลย
ไม้หนามกลุ่มที่ว่านี้ อันที่จริงถ้าบอกไป บางคนก็อาจจะร้อง...อ๋อ เพราะทีบ้านอาจมีปลูกอยู่บ้างแล้วก็ได้ นั่นก็คือพวก บรอมีเลียด (Bromeliad) หรือที่เรานิยมเรียกกันว่าพวก "สับปะรดสี" นั่นเอง
หลายคนอาจตั้งข้อโต้แย้งอยู่ในใจแล้วว่าพวกสับปะรดสีมันจะเป็นไม้อวบน้ำ ไปได้อย่างไร... มันน่าจะจัดเป็นพวกไม้ใบ ที่ไม่รดน้ำเดี๋ยวเดียวก็เหี่ยวแล้วไม่ใช่หรือ?
ซึ่งก็ถูกต้องเหมือนกันครับ แต่ว่าไม่ทั้งหมด เพราะที่จริงยังมีไม้ในวงศ์เดียวกับสับปะรด (วงศ์ Bromeliaceae) อยู่หลายชนิดในหลายสกุล ที่มีลักษณะเป็นพวกไม้อวบน้ำทนแล้ง หรือจะเรียกอย่างเป็นทางการว่า Xeric bromeliads คือเป็น สับปะรดทนแล้ง ที่แถมมีหนามแหลมคมอยู่ตามขอบใบ ดูดุเดือดไม่แพ้พวกกระบองเพชรเลยทีเดียว
สับปะรดหนามทนแล้งที่ว่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกที่อยู่ในวงศ์ย่อย Pitcairnioideae ที่จัดเป็นสับปะรดกลุ่มโบราณที่สุดในวงศ์ ส่วนใหญ่เป็นไม้ดิน คือขึ้นอยู่ตามพื้น หรือบนโขดผาหินในพื้นที่แห้งแล้งของทวีปอเมริกา โดยกระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐเท็กซัส ในสหรัฐฯ ลงมาจนถึงประเทศอาเจนตินา
เจ้าสับปะรดหนามทนแล้งที่ว่านี้มีอยู่ด้วยกันหลายสกุล รวมแล้วก็หลายร้อยชนิด มีความหลากหลายทั้งขนาด รูปทรงสีสันของใบ ยกตัวอย่างเช่น สกุล Orthophytum, Puya, Pitcairnia, Hechtia, Deuterocohnia, Encholirium และ Navia เป็นต้น แต่สกุลซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายอยู่ในหมู่นักเล่นกระบองเพชรและไม้อวบน้ำ ในต่างประเทศมากที่สุดก็คือ สกุล Dyckia ที่ผมเองสนใจและเริ่มเสาะหามาเลี้ยงสะสมไว้ได้ราวๆ สองสามปีแล้วครับ รวมๆ แล้วก็มีราว 100 กว่าชนิด
และนี่คือบางส่วนใน collection ของผม ที่มีเพียงเพื่อนก๊วนสนิทบางคนเท่านั้นที่จะทราบว่า นอกจากพวกไม้โขดแล้ว ก็มีเจ้าสับปะรดหนามเหล่านี้แหละครับที่ผมบ้าเข้าขั้น !!! เชิญชมครับ
-->
นี่ คือ ต้นที่หลายคนคุ้นเคย เพราะสวนคุณลุงวิชิตได้สั่งเมล็ดจากนอกเข้ามาเพาะ และนำมาจำหน่ายเผยแพร่ในบ้านเรากว่าสิบปีมาแล้ว จนเดี๋ยวนี้ต้นที่สวนชลบุรีของแกก็ติดเมล็ดเองแล้ว เรียกว่าเป็นรุ่นหลานก็มีครับ
เจ้า Dyckia marnier-lapostollei (ชื่อยาวจริงๆ ผับผ่า !) มีถิ่นกำเนิดจากประเทศ Brazil ครับ และมีความหลากหลายของลักษณะสีสัน รูปทรงของใบรวบทั้งหนาม ค่อนข้างมาก ลองดูแล้วกันครับ | |
ต่
ต้นนี้เด็ดสุด เป็นตัวที่ใบกลายเป็นลายบั้งๆ
ได้มาจากสวนของคุณลุงวิชิตเช่นกันครับ
|
-->
ต้นนี้เป็นลูกผสมยังไม่มีชื่อที่เพื่อนไปช่วย
เสาะหามาฝากจากรังนักผสม Dyckia ที่อเมริกา
พวกนี้ก็ลูกผสมต่างๆ
ใบหลากหลายดีครับ
นอกจากใบที่เป็นสีเงินแวววาวราวกับเคลือบโลหะแล้ว พวกลูกผสมหลายตัวก็มีสีใบฉูดฉาดสวยงามได้ไม่แพ้ไม้อวบน้ำกลุ่มอื่นๆ เหมือนกัน
-->
บางชนิดก็มีใบค่อนข้างแปลก อย่างเป็นเส้นยาวที่มีทั้งแบบใบยาว และแบบแคระใบสั้นๆ ซึ่งหายากทั้งคู่
| |
แต่ที่ พิศดาร และถือเป็นสุดยอดของเหล่านักสะสมต้นไม้แปลกและหายากระดับโลกก็คือเจ้าต้นนี้ ครับ เพราะเนื่องจากในบรรดา Dyckia หรือที่จริงแล้ว ถ้าจะว่าไปก็คือ พืชในวงศ์สับปะรดเกือบ 3,000 ชนิดนั้นแถบไม่มีชนิดใดที่มีใบเรียงแบบพัดออกไปสองด้านเป็นระนาบเดียวกัน อย่างเจ้านี่เลย เขาก็คือ Dyckia estevesii ที่ราคาจะสูงนักหนาผมก็ไม่เกี่ยง แต่กว่าที่จะไปหามาได้นี่ซิมันยากเย็นเอาเรื่องทีเดียว
| |
และเพียง แค่ข่าวแพร่ออกไปว่าต้นที่ผมได้มามันเริ่มแทงหน่อ ก็ถึงกับมีเพื่อนนักสะสมสับปะรดหนามยอมบินข้ามโลกมาขอชมจากเยอรมัน !! แล้วก็ลงชื่อจองไว้...เปล่าครับ ผมไม่ได้ขาย แต่เราตกลงจะแลกของกันครับ
|
ที่จริง แล้วในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกา เขาเล่นพวกสับปะรดหนามกันอย่างจริงจังและเป็นเรื่องเป็นราวมาก มีการทำลูกผสมสวยๆ ออกมา แล้วพอถึงช่วงงานโชว์ประจำปี ต่างคนต่างก็จะนำไม้ของตัวออกมาโชว์กัน
ข้อเสียของการเล่นเจ้าพวกนี้ก็คือ หาซื้อยากชมัด เพราะทั้งอเมริกาก็จะมีรังต้นไม้อยู่เพียงสามสี่แห่งเท่านั้นที่มีพวกนี้ เสนอขาย และพวกชนิดหายากๆ หรือลูกผสมเจ๋งๆ ที่มาโชว์นั้นก็แทบไม่ค่อยจะหลุดออกมาเลย ต้องตั้งตาเฝ้าคอยกันอย่างอดทนกว่าจะได้เลี้ยงต้นจริงกัน
ผมเองก็เพิ่งจะได้หน่อเล็กๆ ของเจ้าหนามก้างปลาสุดโปรดแบบในรูปนี้มาเมื่อเดือนก่อนนี่เอง โดยให้เพื่อนในวงการกระบองเพชรคนหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนกับเจ้าของรังสับปะรด ที่นั่นสั่งมาให้จึงสำเร็จ
ข้อเสียของการเล่นเจ้าพวกนี้ก็คือ หาซื้อยากชมัด เพราะทั้งอเมริกาก็จะมีรังต้นไม้อยู่เพียงสามสี่แห่งเท่านั้นที่มีพวกนี้ เสนอขาย และพวกชนิดหายากๆ หรือลูกผสมเจ๋งๆ ที่มาโชว์นั้นก็แทบไม่ค่อยจะหลุดออกมาเลย ต้องตั้งตาเฝ้าคอยกันอย่างอดทนกว่าจะได้เลี้ยงต้นจริงกัน
ผมเองก็เพิ่งจะได้หน่อเล็กๆ ของเจ้าหนามก้างปลาสุดโปรดแบบในรูปนี้มาเมื่อเดือนก่อนนี่เอง โดยให้เพื่อนในวงการกระบองเพชรคนหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนกับเจ้าของรังสับปะรด ที่นั่นสั่งมาให้จึงสำเร็จ
-->
นี่เป็น พวกที่ได้มาใหม่ บางต้นรากยังไม่เดินเลย แต่ก็ไม่ค่อยน่าห่วงเท่าไหร่ เพราะพวกนี้ทนทาน เลี้ยงตากแดดตากฝนสบายมาก ไม่มีเน่าสักต้น ดินปลูกก็สูตรเดียวกับดินกระบองเพชรทั่วๆไปนั่นเอง
แล้วเจ้า พวกนี้ก็ขยายพันธุ์ไม่ยากนัก เลี้ยงๆ ไปไม่นานเขาก็จะเริ่มแตกหน่อ บางทีก็แตกจากตรงโคนต้น หรือบางครั้งยอดบนก็แตกออกเป็นหลายยอด ซึ่งถ้าเป็นหน่อข้างก็ต้องรอให้โตได้ขนาด 1/3 ของขนาดต้นแม่เสียก่อนจึงจะใช้มีดคมๆ ผ่าแยกออกมาปลูกได้
และบางต้นก็สามารถติดฝัก ซึ่งเมื่อฝักแก่แตกออก เราก็นำมาเพาะแบบกระบองเพชรได้ไม่ยาก